สพด.อบ.เปิดศูนย์ชีวภาพชุมชนต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย ขยายผลจุลินทรีย์สร้างดินดี สร้างอาหาร พัฒนาเศรษฐกิจ หวังยกระดับรายได้ให้เกษตรกรพ้นความยากจน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 สถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี เปิดศูนย์ชีวภาพชุมชนแห่งแรกของประเทศไทย มีเกษตรกรเข้าร่วมเรียนรู้การพัฒนาดินโดยจุลินทรีย์ การสร้างป่า ขยายเห็ดป่านอกฤดูกาล รวมทั้งการเสวนา ขับเคลื่อนศูนย์ชีวภาพชุมชน กรมพัฒนาที่ดิน เป้าหมายและความคาดหวัง เพื่อขับเคลื่อนศูนย์ชีวภาพชุมชนต้นแบบ ยกระดับรายได้เกษตรกรให้พ้นจากความยากจน
นายอนุวัชร โพธินาม รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ กล่าวในงานเสวนาว่า ดินสำคัญที่สุดในการเกษตร เกษตรกรยากจนเกิดจากการไม่รู้จักดินของตัวเอง ดินดีคือมีจุลินทรีย์ที่หลากหลาย ปัจจุบันเรายังใช้จุลินทรีย์ไม่กี่ชนิด ซึ่งในดินมีจุลินทรีย์เป็นล้านชนิด คำถามคือ ทำอย่างไรจะทำให้จุลินทรีย์ล้านชนิดนั้น ลุกขึ้นมาผลิตอาหารให้พืช การขับเคลื่อนของกรมพัฒนาที่ดินจึงมีหมอดินอาสาขึ้นมาเรียนรู้เรื่องดิน งานวันนี้ต้องการยกระดับให้ชุมชน ทังชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อทำให้ดินดีที่สุดโดยผ่านจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะมีกระบวนการเรียนรู้ ขยายผลองค์ความรู้ในชุมชน เป้าหมายคือ ทำให้เกษตรกรหายจนด้วยจุลินทรีย์ดิน โดยศูนย์ชีวภาพฯนี้ มีบทบาททำให้เกษตรกรรู้จักระบบนิเวศน์ของดิน เป็นพื้นที่ขยายเชื้อ พัฒนาให้ดินดี ด้วยการปรุงดิน หมัก ห่ม บ่มดิน ให้ดินมีออกซิเจนดี จุลินทรีย์ถึงจะเดินได้ดี เมื่อดินดี ผลผลิตเกษตรกรดี รายได้ดี สุขภาพดีเพราะไม่ได้ใช้สารเคมี
“จุลินทรีย์ต้องการบ้าน และต้องการอาหาร มีคำถามว่าทำบ้านจุลินทรีย์ด้วยอะไร ทำอาหารจุลินทรีย์ด้วยอะไร อะไรที่ทำให้บ้านจุลินทรีย์อยู่อย่างมีความสุข ซึ่งมีความรู้เหล่านี้ในฐานเรียนรู้ เป้าหมายรัฐบาลคือเพิ่มรายได้ 3 เท่า ตอนนี้ค่าเฉลี่ยรายได้เกษตรกรคือประมาณ 8 หมื่นบาท ทำให้เกษตรกรอยู่ในท้องถิ่นไม่ได้ ต้องออกไปหางานทำ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอเลี้ยงชีพ ศูนย์ชีวภาพฯของกรมพัฒนาที่ดิน มีแนวทางจะขยายให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ”
ดร.ประเสริฐ ปิ่นงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แนวคิด จุลินทรีย์ สุขภาพ เกษตร อาหารล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อก่อนเรามองจุลินทรีย์เป็นเชื้อโรค แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิต เริ่มต้นจากจุลินทรีย์เดียวกัน จุลินทรีย์ในพืช คน ต้นไม้ ในดิน มีความเชื่อมโยงกัน ทุกส่วนเป็นบรรพบุรุษเราทุกคน กรมพัฒนาที่ดินมีวิสัยทัศน์เรื่องจุลินทรีย์มายาวนาน มองว่าการขับเคลื่อน จุลินทรีย์ดีทำให้ดินดีจะเพิ่มรายได้ 3 เท่า มีความเป็นไปได้ กลไกการขับเคลื่อน ต้องการการอธิบายเชื่อมโยง และการสื่อสารที่มากกว่าอาหาร แต่ต้องเชื่อมโยงถึงสุขภาพ การต้านโรคมะเร็ง ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่าจุลินทรีย์มีส่วนในการต้านมะเร็งจริง
“ถ้าเรารู้จักจุลินทรีย์ที่เป็นบรรพบุรุษของเรา มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ชี้ชัดว่า กลไกการรักษามะเร็งคือการให้ออกซิเจนลงสู่เซลล์ในร่างกายเรา การกินอาหารไม่ปนเปื้อนสารเคมี ไม่ใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยที่ NPK ในทางสุขภาพ คือ อาหารขยะของพืช ถ้าเราเข้าใจกลไกพวกนี้ เราจะกินอาหารธรรมดา ปลูกผัก กินเห็ด กินผักอินทรีย์หรืออาหารในท้องถิ่น เราจะรู้จักและใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ”
ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ประธานสถาบันอานนท์ไบโอเทค อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ด FAO กล่าวว่า ทำหน้าที่สอนเรื่องเห็ดคนแรกๆในเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2015 และมีประสบการณ์ไปทำงานต่างประเทศ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ด สิ่งที่สอนครั้งแรกในเมืองไทยคือ สอนให้คนไทยเพาะเห็ดโดยใช้ขี้เลื่อยและฟาง โดยเพาะในถุงพลาสติก ต่อมาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ท่านแนะนำให้เปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะเห็ดโดยการส่งเสริมเกษตรกรไทยให้ได้ผลประโยชน์จากจุลินทรีย์ ได้มีโอกาสไปพบผอ.สพด.สกลนคร มีความสนใจเรื่องป่า และเห็ดป่า มีเป็นจุดเริ่มต้นในการทำเรื่องเชื้อเห็ดในป่า
“ไม้ยางนามีอายุถึง 700 ปี ใส่เชื้อเห็ดแค่ 1-2 ปีแรก มีเห็ดกินตลอดชีวิต ในประเทศภูฐาน เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก หลังจากเรียนรู้เรื่องเห็ด ตอนนี้เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุด และรวยที่สุด ด้วยเห็ดถั่งเช่า และเห็ดอีกหลายชนิด เห็ดถั่งเช่าก็คือเห็ดผึ้งในเมืองไทย ประเทศภูฐานมีเห็ดถั่งเช่า 2 สายพันธุ์ แต่ประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์มาก และมีรสชาดที่อร่อย คนไทยบริโภคด้วยความอร่อย แต่ยังไม่ได้ต่อยอดด้านอื่นๆ”
ทราบว่าจังหวัดอุบลราชธานี มีเห็ดเยอะมากที่สุด เห็ดเผาะ ถือว่าเป็นโคตรของยา เกิดขึ้นในตระกูลยางนา เราทานเห็ดเผาะด้วยความอร่อย ในประเทศซาอุอารเบียร์ หรือประเทศอื่นๆ ใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน คนที่เป็นเบาหวาน ขอให้เก็บเห็ดเผาะลวกใส่ช่องเย็นในตู้เย็นเก็บไว้ทานวันละ 2 ดอก เพื่อทานเป็นยา นอกจากนี้ยังมีเห็ดผึ้งขม เหมาะสำหรับคนที่ต้องบายพาสหัวใจ ใช้เป็นยาได้ แต่ไม่มีใครคิดเอาเห็ดและอาหารเหล่านี้เป็นยา
“ง่ายที่สุด อยู่ที่ใจ แค่ขอให้คิดว่าจะปลูกต้นไม้ หรือมีต้นไม้อยู่ เห็ดเอาดอกแก่ละลายน้ำ แล้วราดลงตามบริเวณที่ต้นไม้เกิด จุดที่ต้องราด คือ ทรงพุ่มซึ่งเป็นปลายรากต้นไม้ที่หาอาหารได้ ขณะนี้หลายประเทศกำลังเริ่มต้นปลูกป่า เพื่อเอาเห็ด นอกจากปลูกป่า ต้องมีการห่มดิน รักษาป่าให้สมบูรณ์ ทองคำที่มีชีวิตจะเกิดขึ้น”
ดร.ศุภชัย พันธุกานนท์ อดีตผู้ช่วยเจ้ากรมวัง กล่าวว่าปี 2017 เริ่มตระเวนให้เกษตรกรรับรู้เรื่องเห็ด รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อ เช่น นสพ.ต่างๆ ทำงานควบคู่กับดร.อานนท์ ทราบว่าที่จังหวัดอุบลราชธานีมีเห็ดป่านอกฤดูกาลเกิดขึ้น จึงสนับสนุนให้มีการทดลอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในผลลัพธ์ และได้เรียนให้ผู้บริหารทราบ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของกรมพัฒนาที่ดิน มีวิสัยทัศน์ นำมาสู่การขับเคลื่อนการทำงานในวันนี้
ผศ.ดร.แพรทอง เหลาภา หัวหน้าโครงการ สกลนครโมเดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนครกล่าวว่า ประสบการณ์การทำงานพบว่าสารสำคัญในพืชสมุนไพร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ หรือดิน เริ่มต้นมาเรียนรู้เรื่องจุลินทรีย์และใช้ถ่านในการปรับป