ข่าวด่วน
Tue. Jul 8th, 2025
เมล็ดพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ

เพราะ “เมล็ดพันธุ์” เป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ท่ามกลางสถานการณ์ที่ภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง มีแนวโน้มความถี่และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ การฟื้นฟู ดูแลความหลากหลาย และการจัดเก็บ“เมล็ดพันธุ์” ให้ประชาชนเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการผลิตอาหารที่เพียงพอและปลอดภัยสำหรับทุกคนจึงเป็นสิ่งที่ต้องหาคำตอบ 

ฟังเสียงประเทศไทย ฟังเสียงคนท้องถิ่น ThaiPBS ชวนตัวแทนผู้มีส่วนสำคัญในการทำงานขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน นักวิชาการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันตั้งต้นสนทนาหาแนวทางปรับตัวเตรียมรับความผันผวนในยุคโลกรวน เพื่อร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน ณ ลานกิจกรรมตลาดกินสบายใจ ชั้น 1 สุนีย์ทาวเวอร์ อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี

โดยมีผู้ร่วมรายการคือ ดร.สังวาลย์ สมบูรณ์  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 

ขนัตยา ลลิตจูรญ  นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี 

ดาวเรือง พืชผล (พ่อลาน) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองจังหวัดยโสธร 

และเครือข่ายเกษตรกรภาคอีสาน โดยมี กมล หอมกลิ่น ดำเนินรายการ

ดาวเรือง พืชผล (พ่อลาน) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองจังหวัดยโสธร กล่าวว่า ผลิตภาพที่ดี ต้องมาจากเมล็ดพันธุ์ที่ดี สมัยก่อนจะมีการคัดสรร เก็บอย่างดี เมื่อก่อนมี 62 สายพันธุ์ เหมาะกับที่ราบที่ลุ่ม ฯลฯ ตามระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมต่างกัน ปัจจุบัน เคยสำรวจปี 2540 ที่จ.ยโสธร เหลือ 3 สายพันธุ์

เหตุที่ข้าวพื้นเมืองหายไปเพราะทำแล้วไม่ได้เงิน คนก็เลยหยุดเก็บพัฒนาสายพันธุ์ และ คนไม่ทำกับข้าวกินเอง  เดี๋ยวนี้มาโหยหา เพราะเริ่มไปไม่รอด สภาวะอากาศที่เปลี่ยนไป

เมล็ดพันธุ์ที่ผูกขาดโดยพ่อค้า เกษตรกรจึงอยากมีสายพันธุ์ที่เป็นของตัวเอง เกิดตื่นตัว รวมตัวกัน รวบรวมเมล็ดพันธุ์เท่าที่รวบรวมได้ อย่างชาวบ้านกุดชุม จ.ยโสธร มีรวมประมาณร้อยกว่าพันธุ์ ข้าวพื้นเมืองประมาณ 70 กว่าสายพันธุ์ มีการพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่อง 

ดร.สังวาลย์ สมบูรณ์  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เมล็ดพันธุ์ต่างๆ ที่บริษัทใหญ่ผลิต ก็จ้างชาวบ้านนี่แหละทำ ก็ได้เก็บความรู้การศึกษาเรียนรู้มาเรื่อยเรื่อย มีการกล่าวว่า เหตุที่ชาวบ้านไม่เก็บเมล็ดพันธุ์ เพราะขายไม่ได้  เมื่อเราเจอเมล็ดพันธุ์ของเราที่เป็นของดี ทำอย่างไร จึงจะให้คนอยากนำไปใช้ ก็จะต้องทำให้มี คุณภาพและมาตรฐาน มีการเก็บข้อมูล เชน มีการตรวจสอบการงอกของเมล็ดพันธ์ุ  การเก็บ ป้องกันความชื้นและแมลง 

ทางราชการมีความรู้ให้ แต่ชาวบ้านต้องเปิดใจรับความยุ่งยากนิดหนึ่ง  เมล็ดพันธุ์ที่ขายตามท้องตลาด จะระบุ เก็บช่วงไหน อัตราการงอกเท่าไหร่  ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ชาวบ้านต้องมีงานวิชาการงานวิจัยกำกับด้วย ถ้าจะตั้งศูนย์ฯเองก็ใช้ทุนค่อนข้างมาก แต่ถ้าเป็นความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา อุบลราชธานีก็มี วิทยาลัยเกษตรฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ด้านข่้าวก็มี ศูนย์วิจัยข้าวฯ กับ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวฯ  ควรมีความร่วมมือกัน ขณะนี้ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์มี PGS การรับรองโดยชุมชนอยู่แล้ว ก็สามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้ในการรับรองเมล็ดพันธุ์ได้

ขนัตยา ลลิตจูรญ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี  กล่าวว่า การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ฯ มีมาตรฐานกำหนด ชาวบ้านอาจจะบอกว่าทำไมมีข้อกำหนดเยอะจัง เป็นเพราะเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย เรื่องมาตรฐาน ถ้าจะรับซื้อต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง 

ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี มีภารกิจในการวิเคราะห์หรือวิจัย พันธุ์ข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี มีภารกิจ ต้องรับเมล็ดพันธุ์หลักจากศูนย์วิจัยมาขยายผลต่อ มีกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตที่มีความเข้มแข็ง ที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้ตามมาตรฐาน 

การผลิตเมล็ดพันธุ์ทำคนเดียวไม่ได้ จะต้องทำเป็นเป็นกลุ่ม ต้องมีความเข้าใจมีหลักเกณฑ์หลักการและเจ้าหน้าที่จะต้องเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง อัตราการงอกต้องได้มาตรฐาน ความบริสุทธิ์ต้องได้ 98 ความชื้นต้องไม่เกิน 14 เพื่อที่จะให้คงคุณภาพ 

โจทย์ เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อเกษตรกรทั่วไป เป็นโจทย์ ที่กรมการข้าว ต้องคิด ว่าทำยังไงจะเข้าถึงเกษตรกร และเกษตรกรต้องสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง จึงมีการทำเป็นโครงการศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยทั่วไปในพื้นที่ สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ของตัวเองได้และกระจาย ในท้องถิ่นตนเองได้ ถึง 3 ฤดูกาล โดยไม่จำเป็นจะต้องมาซื้อที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 

และยังมีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ กินสบายใจเข้าร่วมพูดคุย มีความเห็นเป็นส่วนใหญ่ว่า อนาคตเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านกับความมั่นคงทางอาหาร ควรมีการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งชาวบ้าน นักวิชาการ ภาครัฐ สื่อ จึงจะยั่งยืน

Related Post