Customize Consent Preferences

UbonConnect (ต่อไปนี้จะเรียกว่า ‘ทีมงาน/เรา’) เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ https://www.ubonconnect.com รวมไปถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ และช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ในเครือ บริษัทขอเรียนว่า บริษัทเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน และตระหนักดีว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่ละท่านมีความสำคัญอย่างยิ่ง บริษัทจึงต้องการที่จะชี้แจงให้ทราบเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ข่าวด่วน
Wed. Jul 9th, 2025
Sikh Gurudwara (

อ่านให้ฟัง จาก สุชัย Ai โดย Botnoi

อุบลฯ เปิดนิทรรศการพหุวัฒนธรรม ซิกข์ ฮินดู พุทธ เชื่อมโยง “อินเดีย: ดินแดนแห่งการตื่นรู้ สู่ อุบลราชธานีศรีวนาลัย”

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 ณ Sikh Gurudwara (ศูนย์รวมซิกข์ศาสนาอุบลราชธานี) และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ร้อยตรี สรมงคล มงคละสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “ จากอินเดีย : ดินแดนแห่งการตื่นรู้ สู่ อุบลราชธานีศรีวนาลัย” นิทรรศการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความเชื่อมโยงกับสาธารณรัฐอินเดียผ่านอิทธิพลของศาสนาซิกข์ ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ โดยจัดแสดงระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ – 22 มีนาคม 2568 (เว้นวันจันทร์และอังคาร)

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ภายในงานประกอบไปด้วย การร่วมพิธีทางศาสนา ณ Sikh Gurudwara ร่วมรับประทานอาหาร ณ โรงครัวพระศาสดาลังกัร (Langar) ร่วมพิธีอัรดาส พิธีขอพรจากพระศาสดาให้ช่วยดลบันดาลประทานพรให้กับเหล่าศาสนิกชน พิธีเปิดนิทรรศการและเยี่ยมชม 3 ห้องจัดแสดงผลงาน ได้แก่ นิทรรศการ “อุบลราชธานี วิถีซิกข์” นิทรรศการ “ศิลปะและสถาปัตยกรรมวัดฮินดู : จากอินเดียใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” และนิทรรศการ “พุทธศิลป์สองลุ่มน้ำ : จากคงคาสู่แม่โขง” การจิบชาและอาหารว่างแบบอินเดีย การเสวนาทางวิชาการ โดยวิทยากร ได้แก่ นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ดร.ลลิดา บุญมี และ อ.ยง บุญอารีย์ คณะศิลปะประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.สมศรี ชัยวณิชยา คณะศิลปศาสตร์ พร้อมชมการแสดงวัฒนธรรมอินเดียจากชมรมนาฏกันเกรา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อนึ่งจังหวัดอุบลราชธานียังมีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับสาธารณรัฐอินเดีย ทั้งในแง่ของการค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ อาทิ จารึกพระเจ้าจิตรเสน อักษรปัลลวะ เทวรูปพระคเณศ พระอรรธนารีศวร รวมถึงร่องรอยอารยธรรมที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ รวมถึงมีชุมชนชาวไทยซิกข์ (ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย) จำนวนมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นิทรรศการดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสะท้อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย และสาธารณรัฐอินเดีย อันจะนำไปสู่การต่อยอดความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต

ทั้งนี้ นิทรรศการ “จากอินเดีย : ดินแดนแห่งการตื่นรู้ สู่ อุบลราชธานีศรีวนาลัย” เป็นการบูรณาการการทำงานเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านอินเดียร่วมสมัยในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี พร้อมภาคีเครือข่าย ศูนย์รวมศาสนาซิกข์อุบล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยคณะศิลปะประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และ โครงการวิจัยพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าอุบลราชธานี Indian Institute of Technology – Hyderabad และสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ภายใต้การสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย สำหรับผู้สนใจเข้าชมหรือประสงค์เยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 045 251 015

Related Post